วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

Spring Roo ผู้ช่วยให้การเขียนเวปบน Java เป็นเรื่องง่าย

หลังจากที่ได้ปลุกปล้ำถลำลึกกับการทดลองของเล่นน้องใหม่ ในตระกูลจาวามาได้ปีกว่าๆ เราก็คิดว่า เอาหละ มันถึงเวลาแล้ว ที่ควรจะบันทึกเรื่องราวดราม่าอันเข้มข้น ของ Spring Roo ออกสู่สายตาประชาชนชาวไทยเสียที (อิๆ อันนี้ก็เวอร์)
[ที่มา รูปภาพ http://www.springsource.org/roo ]

เรื่องของเรื่อง ก็คือว่า เราอยากแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้มากกว่าน่ะค่ะ เพราะว่าเราเองก็ไม่ได้เชี่ยวชาญอะไรนัก แต่ก็รู้สึกว่า เจ้า Roo นี่มันก็ดีใช้ได้ ก็เลยคิดว่าจะเริ่มเขียนบทความเกี่ยวกับสิ่งที่ตัวเองรู้มาจากเจ้า Roo เนี่ยแหละค่ะ ที่สำคัญมันก็ได้กลายเป็น document ภาษาไทยชั้นดีสำหรับตัวเราเองด้วย

สำหรับท่านใดที่อ่านบทความเกี่ยวกับเจ้า Roo แล้วรู้สึกว่ามีตรงไหนที่ผิดพลาด หรือควรแก้ไข หรืออยากแบ่งปันความรู้กัน หรือมีข้อแนะนำดีๆ เรายินดีรับฟังนะคะ เพราะอย่างที่กล่าวไว้ตั้งแต่แรกว่า ตัวเราเองก็เป็นแค่มือใหม่หัดขี่เจ้า Roo ค่ะ

เห็นเราเรียกเจ้า Roo คงจะสงสัยว่าทำไมมันขี่ได้ใช่มั้ยคะ ก่อนอื่นอยากจะเกริ่นนิดๆ พอเป็นน้ำจิ้มก่อนว่าเจ้า Roo เนี่ยมันเป็นใคร 

จริงๆแล้ว ทีมนักพัฒนาเค้าตั้งชื่อเต็มๆให้มันว่า Spring Roo ค่ะ และคำว่า Roo เนี่ยก็มาจาก Kangaroo ที่แปลว่า จิงโจ้ นั่นแหละค่ะ ทีนี้ก็เดาได้เลยใช่มั้ยคะว่า เจ้า Roo เนี่ยเกิดที่ไหน แต่นแตนแต๊น... แน่นอนค่ะว่า ประเทศไทยนี่เอง เอ้ย..ไม่ช่ายยยย (มันจะตลกไปแล้วหล่ะ)

ทีนี้ความสามารถของมันเป็นอย่างไร ชื่อมันคงไม่สามารถบอกอะไรได้ใช่มั้ยคะ เจ้า Roo เนี่ย ถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อช่วยให้การเวปด้วยภาษาจาวา บน Spring Framework เป็นเรื่องง่ายขึ้น และไม่ใช่แค่เพียงเท่านั้น เมื่อคุณใช้ Roo วันนี้ คุณจะพัฒนาเวปบน Spring Framework ได้เร็วขึ้นกว่าเดิมอีกหลายเท่าตัวเลยทีเดียว

ประโยคคุ้นๆเหมือนโฆษณาพวก direct sale มั้ยคะ อิๆ แต่ว่า...เราไม่ได้พูดเกินจริงเลยค่ะ เจ้า Roo เนี่ยช่วยให้เขียนเวปด้วยจาวาได้เร็วขึ้นจริง  ถ้าหากใครเคยพัฒนา Ruby on Rails ที่ว่าเร็ว และแรง หรือจะเป็น Python on Django ที่ทำให้คุณติดใจกันมาแล้ว วันนี้ Spring Roo จะเข้ามาอยู่ในอ้อมอกอ้อมใจของคุณได้ไม่ยากเลยค่ะ (ถ้าไม่เกลียดจาวามาก่อนนะคะ)

แต่ว่า...ถ้าใครที่อาจจะรู้สึก เอ๊ะ!! อยู่ในใจ เราก็อยากจะบอกว่า ที่เขียนมาไม่ได้จะบอกว่าใครดีกว่าใครนะคะ Ruby, Python, Spring etc. ต่างก็มีข้อดีข้อเสียของตัวเองทั้งนั้น ไม่อยากเปรียบเทียบให้ขัดใจกันหรอกค่ะ แต่ที่ต้องการสื่อจริงๆก็เพียงว่า ความซับซ้อนในการเขียนเวปด้วยจาวาทั้งปวง เจ้า Roo มันช่วยปกปิดไว้ ทำให้เราเขียนเวปได้เร็วขึ้นเท่านั้นเองค่ะ


และเราก็อยากจะขอแก้ตัวไว้ล่วงหน้าก่อนเลยนะคะว่า เราไม่ได้เป็นนายหน้า หรือมีส่วนเกี่ยวข้องใดๆทั้งสิ้นกับค่ายจิงโจ้ ที่จะมาอวย และเชียร์ให้ใครต่อใครเชื่อว่า จิงโจ้ดีอย่างโน้นดีอย่างนี้
เราแค่อยากจะนำเสนอและแบ่งปันความรู้ที่เรามี และคิดว่าอาจจะเป็นประโยชน์กับคนอื่นๆบ้างเท่านั้นเองค่ะ ซึ่งก็แน่นอนว่า เราไม่คิดที่จะปกปิดข้อเสียของจิงโจ้ที่เราพบเจอหรอกนะคะ เรารับรองว่าจะเปิดไพ่แบไต๋ให้รู้จักจิงโจ้ในหลายๆแง่มุมกันแน่นอนค่ะ แต่ว่าคงจะค่อยๆเขียนกันไปนำเสนอกันไปทีละเรื่องนะคะ ตามแต่เวลาและโอกาสจะเอื้ออำนวย บวกกับความขยันด้วยค่า (อันนี้สำคัญมาก อิๆ)

เอาหละ เราขอโปรยคำโฆษณาอันสวยหรูไว้แค่นี้ก่อนนะคะ แล้วครั้งหน้า เราจะมาให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า เจ้า Roo นี้กระโดดได้เร็ว และขี่ได้ง่ายสมคำชมหรือเปล่าค่ะ บ๊ายบาย

2 ความคิดเห็น:

  1. มันย้ายไป github โหลดมาแล้วใช้ไม่เป็นเลย

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ใช้ maven ในการโหลด library มาครับ โดยตั้งค่า dependency ในไฟล์ pom.xml จากนั้นเข้าไปในโปรเจคเราผ่าน terminal(cmd ใน window) พิมพ์คำสั่ง mvn install ครับ library ที่ต้องการจะอยู่ใน target

      ลบ