วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

Hello May! กับบทสนทนาแบบ argumentation

Hello May ! 


อาจจะงงๆว่า เอ... ทำไมถึงใช้รูปนี้ ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับหัวข้อที่โพสเลยนะคะ
อันที่จริงก็คือ รูปนี้คือ รูปแรกที่ถ่ายของวันนี้ ในเดือนพฤษภาคม ปีนี้ค่ะ เพราะอยากจะให้ตรงกับหัวข้อโพส Hello May!  ดังนั้น เราก็เลยสวัสดี พฤษภาปีนี้ด้วยทุเรียนหมอนทอง หวานกรอบ อร่อยๆ ค่ะ 😋


ห่างหายจากการเขียนบล็อกไปนานมากๆเลย ทั้งที่คิดว่าจะต้องอัพเดือนละโพสต้องขอโทษด้วยนะคะ มีภาระกิจหนักเยอะมากจริงๆ

วันนี้ ขึ้นต้นเดือนพฤษภา เราพอจะมีเวลาบ้าง ก็เลยอยากจะให้ของขวัญตัวเอง ด้วยการเขียนบล็อกสักเรื่อง  และพอดีว่า เพิ่งจะคุยแชทกับเพื่อนจบไปแล้ว มีประโยคสนทนาขำๆ ที่คิดว่าน่าสนใจ  สามารถนำมา เสนอในรูปแบบของ practical reasoning ด้วยแนวทางของ argumentation ได้ค่ะ


งั้นเรามาลองดูกันนะคะว่า บทสนทนาขำๆ วันนี้มีว่าอย่างไร (ขอใช้ภาษาวิบัติ เพื่อความสมจริง)

M1:       ทำไมวันนี้เธอตื่นเช้าจังเลยล่ะ
A1:       ไม่เช้าแล้วค่ะ สายแร้ว
M2:       อ้าว ตอนนี้ไม่ใช่เกือบเก้าโมงเช้าหรอ
A2:       เก้าโมง นี่เช้าหรอคะหญิงมดดี้ ตายแระ
M3:       ฮ่าๆๆ ช่ายเรย  สำหรับชั้นไง
M4:       แล้วนี่เธอทำอะไรอยู่
A3:       เพิ่งตื่นค่ะ
M5:      ว๊าย... ตื่นสายนะเธอ
A4:       อ่าว เมื่อกี๊ยังบอกเช้าอยู่เลย
M6:      55555555 (เขิล)


เอาล่ะค่ะ บทสนทนานี้มันคือความโก๊ะของเราเองที่มักจะเป็นแบบนี้ประจำ อยากแกล้งคนอื่นแต่ก็เข้าตัวเองตลอดๆ

ลองสังเกตบทสนทนานี้ดีๆนะคะ จะพบว่า ในความเข้าใจของเราตอนแรก การตื่นนอนตอน 9.00 น. นี่คือ ตื่นเช้า ในขณะที่เพื่อน จะมองว่าเป็นการตื่นสาย (เพราะเพื่อนต้องการจะแซวเราฮ่าๆๆ)  แต่เมื่อคุยกันต่อ เราเองกลับเปลี่ยนประโยคว่า การตื่น 9.00 น. คือการตื่นสาย


คำถามคือ เราจะทำการ โมเดลในระบบ เพื่อให้ได้ เซตของ accepted argument ได้ไหม ทำได้อย่างไร
หรือ พูดอีกอย่างก็คือ  เราจะสร้างโมเดลของ argument เพื่อทำ การคิดหาเหตุผลได้หรือไม่

Can we provide a formal model of argument systems for practical reasoning ?


ถ้าเราจะลอง formalize บทสนทนานี้ ด้วย argumentation ก็สามารถทำได้ โดยจะใช้ AA หรือ ABA แบบที่เคยอธิบายไปคร่าวๆแล้วนะคะ  ถ้าหากยังจำได้ ABA เนี่ย โครงสร้างของ argument จะมีเฉพาะ ส่วนของ assumption เท่านั้นที่เราจะ attack ได้ ซึ่งเราจะเรียกการ attack แบบนี้ว่า undermine

เพื่อความเข้าใจก่อนอื่นเลย เราจะโชว์ให้เห็นว่า ถ้า formalize บทสนทนานี้ในรูปแบบของ AA คือ argument ไม่มีโครงสร้างอะไรพิเศษ เราแค่กำหนดว่า argument ไหน attack ใครก็พอ

เราจะสามารถวาดแผนผังการตีกัน(ฮ่าๆๆ attack relation) ของ argument ได้ดังนี้ค่ะ
ซึ่งเราตัด ประโยคท้ายสองประโยคออก เนื่องจากไม่ได้สื่อความหมายอะไรพิเศษนะคะ

จะเห็นว่าในแผนผัง argument M2, M4, A3 จะอยู่แยกออกมา ไม่ได้ attack ใคร เนื่องจากให้ความหมายเหมือนๆกันก็คือ A ตื่นนอนเวลา 9.00 น.

ส่วน A1, A2 นั้น จะทำการ attack ฝั่งตรงข้ามก็คือ M1, M3  และในขณะเดียวกัน M1, M3 ก็ attack A1, A2 ด้วยเช่นกัน

แต่ทีนี้ ถ้าดู M5 จะพบว่า M5 attack M1,M3  ซึ่งก็แน่นอนว่า M1,M3 ก็ attack กลับได้

ถ้าหากว่ายังจำ นิยามของ acceptability of arguments  จากที่เคยเกริ่นเรื่อง Abstract argumentation ได้ ก็จะเห็นว่า เซตของ acceped arguments นั้นจะต้อง ไม่ขัดแย้งในตัวเองและ attack ข้อโต้แย้งอื่นๆได้หมด

ถ้าหากว่าเรา ทำการหา prefer semantic  ก็จะได้ออกมา 2 set คือ
{A1, A2, M5 , M2, M4, A3}และ {M1, M3, M2, M4, A3}
นั่นก็หมายความจะเลือก เชื่อฝั่งไหนก็ได้  ว่า การตื่นเก้าโมงเป็นการตื่นเช้า หรือจะเชื่อว่า เป็นการตื่นสายก็ได้

ถ้าหากว่าหา grounded semantic ก็จะได้ เป็น empty set


ขอโน้ตไว้นิดนึงนะคะว่า แต่ถ้าหากว่าเรานับ argument  A4 เข้าไปด้วย แล้วให้ A4 attacks  M5 จะกลายเป็นว่า เรามี prefer semantic = grounded semantic ซึ่งก็คือ  {A1, A2, M5 , A4,  M2, M4, A3 }ค่ะ



แต่พอดีว่า เราอยากให้เห็นกรณีว่า agent (ตัวบุคคล) นั้น ขัดแย้งในตัวเอง เลย ไม่พิจารณา A4 เข้าไปนะคะ


 ถ้าหากว่า เรามาพิจารณาเซตของการให้เหตุผล  จากตัวผู้พูดล่ะคะ (ขอไม่รวม M2,M4,A3 ก่อนนะคะ  เพื่อไม่ให้สับสนตัวบุคคล )
เซตของ argument ของ A จะมี {A1, A2} ซึ่ง conflict free และ attack ทุกการ attack ที่มาจากข้างนอก
ก็เป็น acceptable set  of arguments

แต่ส่วนเซตของ argument ของ M มี { M1, M3, M5 } เป็นเซตที่ ไม่ conflict free เพราะ M5 attack เซตตัวเอง ดังนั้น ไม่ใช่ acceptable set of arguments

ก็จะเห็นว่า คำพูดของ M นั้นมีความขัดแย้งในตัวเองอยู่ ถ้าหากว่า M เลือกที่จะเก็บ เซตของ argument ของตัวเอง เป็น M1, M3, M5 จริงๆแล้ว  ก็จะพบว่า M ไม่สามารถยอมรับ argument ของตัวเองได้ค่ะ

ลองนึกถึงว่า ถ้าเราจะสร้างหุ่นยนต์ ที่พูดโต้ตอบแบบนี้ได้สิคะ
ถ้าเราต้องการได้หุ่นยนต์ที่จะมีเหตุมีผล หุ่นตัวนั้น ก็ต้องไม่สร้าง conflict arguments เพื่อมาขัดแย้งในตัวเองใช่ไหมคะ

แล้วเราจะสร้างหุ่นที่คิดแบบเป็นเหตุเป็นผลได้ไหมคะ ? 

ขอให้ Happy in May  นะคะ 😊


โพสนี้อยู่ในหมวด เรียนรู้ logic programming + argumentation นะคะ

วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2562

สวัสดีปีใหม่ ๒๕๖๒

ก่อนอื่นขอกล่าวคำว่า สวัสดีปีใหม่ ค่าาาา  อาจจะพูดคำนี้ช้าไปหน่อย แต่หวังว่ายังทันนะคะ ฮ่าๆ

หายเงียบไปนานเลย ทั้งๆที่ได้ตั้งใจว่าจะอัพเดทบล็อกเดือนละหนึ่งครั้งเป็นอย่างน้อย แต่ว่า ช่วงที่ผ่านมาเป็นช่วงที่งานยุ่งมากจริงๆค่ะ รวมถึงป่วยไปหลายวัน ทำให้ตารางงานต่างๆต้องเลื่อนไปหมด

วันนี้เห็นว่า ก็ผ่านช่วงเทศกาลปีใหม่มาสักพักแล้ว และก็เกิน 2 เดือนแล้วเรายังไม่ได้มีโอกาสอัพเดทบล็อกเลย จึงคิดว่าควรจะมาเขียนอะไรทิ้งไว้ เพื่อเป็นการรักษาสัญญา(ใจ) กับตัวเองที่ว่าจะอัพเดทบล็อกเดือนละครั้งให้ได้นะคะ

สำหรับตัวเราเองแล้ว ปีที่ผ่านมาคือปีแห่งการทำงานหนักค่ะ  ปกติแล้วเราก็จะพยายามออกกำลังกายด้วยการวิ่งระยะ  5 กิโลเมตรในทุกวันที่มีโอกาส แต่ก็อาจจะมีเรื่องอาหารที่เรายังไม่สามารถควบคุมตัวเองให้กินแต่สิ่งที่มีประโยชน์ได้ค่ะ (เพราะความชอบขนมหวานของเรามันเกินห้ามใจ ฮาๆๆ)

ทั้งที่ปกติเราไม่ค่อยจะเจ็บป่วยสักเท่าไหร่ แต่กลายเป็นว่า ช่วงปลายปีเราก็ป่วยไป 2 สัปดาห์เลย ทรมานจริงเชียวค่ะ

ปีที่แล้ว มีเรื่อง 2 เรื่องที่สำคัญที่เกิดขึ้น คือเราได้ใช้ความกล้าอย่างมากค่ะ ในการตัดสินใจทำเรื่องบางสิ่งบางอย่าง เป็นความกล้าที่เมื่อได้ทำแล้ว แม้ว่าผลจะไม่ได้ออกมาอย่างที่เราหวังจะให้เป็น แต่ว่าได้ช่วยให้เราเข้าใจอะไรๆมากขึ้น และมีความกล้าให้กับตัวเองมากขึ้นด้วยค่ะ ช่วยให้เราเห็นคุณค่าในตัวเอง และเลิกเอาตัวเองไปเปรียบเทียบ ในด้านที่เป็นปมด้อยที่เคยฝังใจเรามาตลอด

ส่วนอีกเรื่องคือเราได้ผ่านภาวะความกดดันอย่างที่สุด จนเราแทบถอดใจไม่ก้าวเดินต่อ แต่หลังจากเราผ่านช่วงเวลานั้นมาได้ เราก็รู้สึกว่า เรามีความอดทนเพิ่มมากขึ้น และเข้าใจการรับมือกับภาวะเครียดได้ดีขึ้นค่ะ พอผ่านเรื่องใหญ่มาได้ ทำให้เราตั้งรับกับเรื่องอื่นๆที่เข้ามาว่าไม่ว่ายังไงเราก็จะต้องผ่านสถานการณ์นั้นๆได้แน่ๆค่ะ ... อาจจะผ่านไปได้โดยที่ได้ผลลัพธ์อย่างที่อยากให้เกิดขึ้น หรือไม่อยากให้เกิดขึ้น แต่เราก็จะผ่านไปได้ค่ะ

ปีนี้เราก็คงจะไม่ได้ตั้งความหวังอะไรมากมาย นอกจาก พยายามทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นหน้าที่ต่ออาชีพการงาน หน้าที่ในฐานะลูกที่ดีของพ่อแม่ หน้าที่ในฐานะเพื่อนที่ดีต่อผู้อื่น และหน้าที่ที่จะทำดีต่อตัวเองค่ะ

สำหรับกิจกรรมต่างๆที่เคยทำแล้วเป็นเรื่องที่ดี เราก็จะยังคงทำต่อไป ที่สำคัญคือ เราตั้งใจที่จะปรับปรุงตัวเองให้ดียิ่งๆขึ้นไปอีกเรื่อยๆค่ะ   เราได้เรียนรู้แล้วว่า ความคาดหวังนั้นทรมานมาก เมื่อเราไม่ได้ในสิ่งที่หวัง แต่บางครั้งความหวังก็เป็นเรื่องจำเป็น  หากไม่มีความหวัง เราก็จะไม่มีเป้าหมายหรือแรงจูงใจที่จะทำสิ่งต่างๆ ....  แต่การคาดหวังในความหวัง นั้นเป็นยาพิษร้ายต่อใจตัวเองเลยนะคะ ... ดังนั้นเราจึงพยายามที่บอกตัวเองว่า เรามีความหวังได้ แต่จะไม่คาดหวังว่าสิ่งที่หวังต้องเกิดขึ้นเท่านั้น ถ้าเป็นจริงก็ดี ถ้าไม่เป็นจริงก็ไม่เป็นไรค่ะ

เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก... แต่ก็จะฝึกใจค่ะ 
เอาไว้ครั้งหน้า เราจะกลับมาเขียนบล็อกเกี่ยวกับความรู้บ้างนะคะ  ... ขอให้ทุกคนมีความสุข สนุกสนานกับปีหมูทองค่ะ  :)